หน้าแปลน

หน้าแปลน(FLANG) เป็นส่วนประกอบหนึ่ง สำหรับงานท่อ ที่ไว้สำหรับ เชื่อมต่อท่อ  ซึ่งจะมีมาตรฐานกำหนด ไว้เพื่อง่ายต่อการนำมาใช้งาน ดังนั้น ในการออกแบบหน้าแปลนเราจะต้องทราบว่า หน้าแปลน มาตรฐานนั้นมีขนาดเท่าไร ซึ่ง มาตรฐานนั้นมันก็มีหลายมาตรฐาน 

     1.ANSI (อเมริกา)

     2.DIN เยอรมัน(ยุโรป)

     3.JIS ญี่ปุ่น(เอเชีย)

        เวลาเรียกชื่อรุ่นจะเป็นดังนี้ รุ่น ANSI เช่น ANSI 150, รุ่น DIN เช่น DN10 PN16, รุ่น JIS เช่น JIS10K ซึ่งแต่ละมาตรฐานจะแตกต่างกันด้านขนาด และการทนแรงดันไม่เท่ากัน ซึ่งแต่ละประเภท จะเป็นดังนี้

     1.ANSI มี2ย่านความดันคือ ANSI150 กับ ANSI300 ANSI150สามารถทนแรงดันได้150PSI ANSI300ทนแรงดันได้300PSI ซึ่งชื่อรุ่นที่กล่าวมาจะตามมาด้วยขนาด(Dimension)เช่น ANSI150 ¾” ANSI300 1” เป็นต้น

     2.DIN จะยกตัวอย่าง4ย่านความดันคือ PN6 PN10 PN16 PN40 อ่านค่าดังนี้ PN6 ทนแรงดันได้6bar PN10=10bar PN16=16 PN40=40bar 
การเขียนรุ่นก็จะมีขนาด(Dimension)กำกับไว้ด้วย เช่น DN10(3/8”)PN6 DN25(1”)PN40 เป็นต้น

     3.JIS หลายท่านจะคุ้นเคยกับมาตรฐานนี้ จะมีอยู่4ขนาดคือ JIS5K JIS10K JIS16K และJIS20K ทนแรงดันตามนี้ JIS5K=5Kgf/cm2 หรือ5bar JIS10K=10kgf/cm2หรือ10bar JIS16K=16kgf/cm2หรือ16bar สุดท้าย JIS20K=20Kgf/cm2หรือ20bar การเขียนรุ่นก็จะมีขนาด(Dimension)กำกับไว้ เช่น JIS10K 25A(1”) เป็นต้น

 

     นอกจากมาตรฐานหน้าแปลนที่เราคุ้นเคยกันดีเหล่านี้แล้วนั้น เรายังต้องรู้ว่า หน้าแปลนนั้นมี ทั้งหมด 6 ชนิด ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามรูปแบบการใช้งาน และ ความต้องการในการรับแรงดัน


     

     ความหมาย ของหน้าแปลนแต่ละชนิด

Slip on = ต่อแบบประกบ

Weld neck Flanges = ต่อแบบเชื่อม บริเวณคอของหน้าแปลน

Raise Face = หน้าแปลน แบบเพิ่มบริเวณผิวสัมผัสหน้าแปลน

Screwed Flange = หน้าแปลน แบบ เกลียว

Blind = แปลตรงตัวว่าไม่มีทางออก นั่นคือ หน้าแปลนแบบปิด นั่นเอง

 

 

 

(ที่มา:ขอขอบคุณเครดิตจาก http://thai-draftman.blogspot.com/2010/01/blog-post.html

                               http://thai-draftman.blogspot.com/2010/01/blog-post.html

 

Visitors: 91,534